เบียร์

เบียร์

เปิดประวัติ “เบียร์” ในประเทศไทย เบียร์ เครื่องดื่มเก่าแก่ที่รู้จักกันทั่วโลก สันนิษฐานว่ากำเนิดมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และมีการบันทึกในอารยธรรมเมโสโปเตเมีย – อียิปต์โบราณ นักโบราณคดียังสันนิษฐานว่า เบียร์มีบทบาทสำคัญในการก่อตัวของอารยธรรม เพราะคนงานในเมืองอูรุกได้รับเบียร์เป็นค่าจ้าง และระหว่างการก่อสร้างมหาปิรามิดในกิซา คนงานแต่ละคนได้รับเบียร์เป็นหนึ่งในการตอบแทนการทำงาน สำหรับเมืองไทย เบียร์มีกำเนิดขึ้นประมาณ 90 กว่าปีนี่เอง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เมื่อพระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) มีโอกาสเดินทางไปศึกษาเรื่องเบียร์ที่ประเทศเวียดนาม และแคว้นบาวาเรียในประเทศเยอรมนี พระยาภิรมย์ภักดี ตัดสินใจยื่นหนังสือขออนุญาตผลิตเบียร์ต่อกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2473 พร้อมทั้งทูลเกล้าฯถวายฎีกาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อขออนุญาตตั้งโรงต้มกลั่นเบียร์ในพระนคร เนื่องจากเห็นว่า เบียร์เป็นสินค้าที่ชาวต่างชาติส่งเข้ามาจำหน่ายในสยามเป็นเวลาช้านาน ทำให้เงินตราในประเทศต้องไหลออกเป็นจำนวนมาก หากคนไทยสามารถผลิตเบียร์ขึ้นได้เอง ย่อมเป็นการป้องกันเงินตราไหลอกนอกประเทศทั้งยังขายได้ในราคาถูกกว่า โดยใช้ปลายข้าวเป็นวัตถุดิบแทนข้าวมอลต์และจำทำให้แรงงานไทยมีงานทำเพิ่มขึ้นด้วย โดย โรงงานเบียร์ไทยแห่งแรก สร้างขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2476 ในย่านบางกระบือ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายใต้ชื่อ “บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด” โดยขณะทำการก่อสร้างนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาเสด็จฯ มาชมการก่อสร้างโรงงานถึงสองครั้ง พระยาภิรมย์ภักดีตั้งใจว่า […]